Please update your Flash Player to view content.
กรุณาเลือกภาษา
Thai Chinese (Simplified) English French German Italian Japanese Korean
ข้อมูลการดำเนินงาน
ดาวน์โหลดแนะนำ

 






 

เว็บไซต์ที่น่าสนใจ




QR code ทต.บางเก่า

ภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชน (เทศบาลตำบลบางเก่า)

   ภูมิปัญญาชาวบ้านในชุมชน

        ภูมิปัญญาชาวบ้าน  หมายถึง  ความรู้ของชาวบ้านซึ่งเรียนรู้มาจากปู่ ย่า ตา ยาย ญาติพี่น้อง และความเฉลียวฉลาดของแต่ละคน หรือผู้มีความรู้ในหมู่บ้านในท้องถิ่นต่างๆภูมิปัญญาชาวบ้านเป็นเรื่องการทำมาหากิน เช่น การจับปลา การจับสัตว์ การปลูกพืช การเลี้ยงสัตว์ การทอผ้า การทำเครื่องวมือการเกษตร

         ภูมิปัญญาเหล่านี้เป็นความรู้ความสามารถที่บรรพบุรุษได้สร้างสรรค์และถ่ายทอดมาให้เรามีวืธีการหลายอย่างที่ทำให้ความรู้เหล่านี้เกิดประโยชน์แก่สังคมปัจจุบัน คือ

        การอนุรักษ์ คือ การบำรุงรักษาสิ่งที่ดีไว้ เช่น ประเพณีต่างๆ หัตถกรรม และคุณค่าหรือการปฏิบัติตนเพื่อความสัมพันธ์อันดีกับคนและสิ่งแวดล้อม

        การฟื้นฟู  คือ การรื้อฟื้นสิ่งที่ดีงามที่หายไป เลิกไป หรือกำลังจะเลิกให้กลับมาเป็นประโยชน์ เช่น การรื้อฟื้นดนตรีไทย

        การประยุกต์  คือ การปรับหรือผสมผสานคสามรู้เก่ากับความรู้ใหม่เข้าด้วยกันให้เหมาะสมกับสมัยใหม่ เช่น การใช้ยาสมุนไพรในโรงพยาบาลประสานกับการรักษาใหม่ การทำพิธีบวชต้นไม้ เพื่อให้เกิดสำนึกการอนุรักษ์ธรรมชาติรักษาป่ามากยิ่งขึ้น

        การสร้างใหม่  คือ  การคิดค้นใหม่ที่วัมพันธ์กับความรู้ดั้งเดิม เช่น การประดิษฐ์โปงลาง การคิดโครงการพัฒนาเพื่อแก้ไขปัญหาชุมชน โดยอาศัยคุณค่าความเอื้ออาทรที่ชาวบ้านเคยมีต่อกันมาหารูปแบบใหม่ เช่น การสร้างธนาคารข้าว ธนาคารโคกระบือ การรวมกลุ่มแม่บ้าน เยาวชน เพื่อทำกิจกรรมกันอย่างมีระบบยิ่งขึ้น

 

     ปราชญ์การทำกาละแมมอญ 

 

        

 

 

ประวัติ

     นายบัณฑิต ญาตินุกุล อายุ ๕๙ ปี

การศึกษา ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ โรงเรียนหนองตาพต

อาชีพ ทำนา

บ้านเลขที่ ๑๔ หมู่ ๘ ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐

       ชุมชนบ้านม่วงเป็นชุมชนชาวไทยเชื้อสายมอญและชุมชนบ้านม่วงก็มีขนมกาละเมซึ่งจะทำในงานบุญ เช่น งานบวช เทศกาลสงกรานต์ ซึ่งการืำขนมกาละเเมในเทศกาลสงกรานต์นั้นก็เพื่ออนุรักษ์สืบทอดการทำขนมกาละแมเพือให้อยู่คู่กับชุมชนบ้านม่วงจนถึงรุ่นลูกรุ่นหลาน

 

ส่วนผสมของกาละแมมอญ

       ๑.แป้งข้าวเหนียว

       ๒.น้ำตาลโตนด

       ๓.น้ำกะทิ

อุปกรณ์

       ๑.กระทะใบบัว

       ๒.พายเหล็ก

       ๓.เตาดินขุด

       ๔.ถาด

       ๕.ใบตอง

       ๖.ฟืน (ใช้ไม้แห้งทำเชื้อเพลิง เช่น ไม้ไผ่ เพราะให้ไฟแรงดี)

วิธีทำ

       ๑.ล้าง(ซาว)ข้าวเหนียวให้สะอาด แล้วนำข้าวเหนียวแช่กับน้ำเปล่าเป็นเวลา ๑ คืน

       ๒.นำข้าวเหนียวที่แช่แล้วใส่เครื่อง โม่หินเพื่อโม่ข้าวเหนียวให้ละเอียดเป็นแป้ง

       ๓.ตั้งกะทะใบบัวบนเตาเทหัวกะทิ เค่ยวน้ำกะทิจนจนกะทิแตกมันแล้วเทน้ำเปล่าลงในกระทะเพื่อให้น้ำมันกะทิลอยขึ้นมาแล้วตักน้ำมัน                 กะทิออกส่วนหนึ่ง ไว้ใช้ทาใบตองเพื่อไม่ให้ขนมกาละแมติดภาชนะ

       ๔.เทน้ำตาลโตนดและแป้งข้าวเหนียวลงไปในกระทะในระหว่างนี้ใช้พายคนให้เข้ากันจนส่วนผสมทั้งหมดเดือด

       ๕.การกวนต้องกวนตลอดเวลาจนส่วนผสมงวดลง สังเกตุได้จากสีของกาละแมที่เริ่มเปลี่ยน จากสีขาวจนค้ำและเป็นสีดำ ใช้เวลากวน                 ประมาณ ๓-๔ ชั่วโมงแลฃะต้องกวนให้ถึงถ้นกระทะเพื่อไม่ให้กาละแมไหม้

       ๖.กาละแมที่งวดจะได้ที่แล้วหรือยังนั้นมีวิธีตรวจสอบแบบต้นตำหรับคือใส่ใบตองสดลงในกระทะ สังเกตุดูว่าหาดกาละแมติดใบตองหรือ            ไม่ หากไม่ติดกันเป็นอันใช้ได้

       ๗.ตักนำกาละแมใส่ในถาดที่ปูด้วยใบตอง ที่ทาด้วยน้ำกะทิเพื่อป้องกันไม่ให้เหนียวติดกระทะ

 

 

         ปราชญ์การทำน้ำโตนด

 

 

ประวัติ 

         นางสมรักษ์ เขียวงาม อายุ ๖๐ ปี

         นายบุญเยี่ยม เขียวงาม อายุ ๕๙ ปี

บ้านเลขที ๒ หมู่ ๘ ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐

การศึกษา ระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านนิคม

มีบุตร ๑ คน เป็นหญิง

         การทำน้ำตาลโตนด

        ๑.การทำน้ำตาลโตนดทำสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ น้ำตาลโตนดสามารถทำได้ทั้งปี

        ๒.การเก็บน้ำตาลโตนด จะเก็บได้ ๒ ช่วง เก็บตอนเช้า เรียกว่าน้ำตาลเช้า เก็บตอนเย็นเรียกว่าน้ำตาลเที่ยงโดยน้ำเช้าจะเก็บจากกระบอกที่นำไปใส่ไว้ตอนเย็นของเมื่อวาน ส่วนน้ำตาลเย็นจะเก็บจากกระบอกที่ใสไว้ตอนตอนเช้าของวัน ต้นตาล ๑ ต้น จะสามารถเก็บน้ำตาลโตนดได้ประมาณ ๓-๕ กระบอก หรือสูงสุดประมาณ ๒ ลิตร บางวันอาจจจะไมมีเลยก็มี

        ๓.ความเชื่อของคนที่ไปขึึ้นเอาน้ำตาลโตนด เชื่อว่า ถ้าใส่ชุดไหนเก็บน้ำตาลโตนด ต้องใส่ชุดนั้นทุกครั้งที่ไปเก็บน้ำตาลโตนด ถ้าหากไม่ใส่ชุดนั้นไปขึ้นน้ำตาลโตนดจะทำให้ไม่ได้น้ำตาลโตนดหรือต้นตาลจะไม่ผลิตน้ำตาลลงในกระบอก นี่จึงเป็นความเชื่อของทุกคนที่นี่ ที่ต้องขึ้นต้นตาลโตนดไปเก็บน้ำตาล

 

         

 

 

 

 การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.๒

       ๑.ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ หมายถึง ปุ๋ยอินทรีย์ในรูปชองเหลว ซึ่งได้จากการย่อยสลายของวัสดุเหลือใช้จากพืชหรือสัตว์ ลักษณะสด อวบน้ำ หรือ มีความชื้นสูงโดยอาศัยกิจกรรมของจุลินทรีย์ ทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ได้ของเหลวงสีน้ำตาล ประกอบด้วยฮอร์โมนหรือสารเสริมการเจริญเติบโตของพืช เช่น กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก

       ๒.สารเร่งซุปเปอร์ พด.๒ เป็นเชื้อจุลินทรีย์ที่มีคุณสมบัติในการย่อยสลายวัสดุการเกษตรในลักษณะสด อวบน้ำ หรือมีความชื้นสูง เพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยดำเนินกิจกรรมทั้งในสภาพที่ไม่มีอากาศและมีอากาศ ประกอบด้วยจุลินทรีย์ ๕ สายพันธุ์

       ๓.ส่วนผสมสำหรับปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากผักและผลไม้ จำนวน ๕๐ ลิตร (ใช้เวลาหมัก ๗ วัน)

        - ผักหรือผลไม้             ๔๐ กิโลกรัม

        - กากน้ำตาล                ๑๐ กิโลกรัม

        - น้ำ                            ๑๐ ลิตร

        - สารเร่งซุปเปอร์ พด.๒   ๑ ซอง ( ๒๕ กรัม )

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำจากปลาหรือหอยเชอร์รี่ จำนวน ๕๐ ลิตร ( ใช้เวลาหมัก ๑๕-๒๐ วัน )

        - ปลาหรือหอยเชอร์รี่     ๓๐ กิโลกรัม

        - ผลไม้                        ๑๐ กิโลกรัม

        - น้ำ                             ๑๐ ลิตร

        - สารเร่งซุปเปอร์ พด.๒     ๑ ซอง (๒๕ กรัม)

       ๔.วิธีการทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำ โดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.๒

        - หั่นหรือสับ วัสดุ (พืชหรือสัตว์) ให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ผสมกับกากน้ำตาลในถังหมักขนาด ๕๐ ลิตร

        - นำสารเร่งซุปเปอร์ พด.๒ จำนวน ๑ ซอง รวมกับน้ำ ๑๐ ลิตร  คนให้เข้ากัน ๕ นาที

        - เทสารละลายซุปเปอร์ พด.๒ ในถังหมัก คนส่วนผสมให้เข้ากัน ปิดผาไม่ต้องสนิทและตั้งทิ้งไว้ในที่ร่ม

        - ในระกว่างการหมัก คนหรือกวน ๑-๒ ครั้ง/วัน เพื่อระบายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และทำให้ส่วนผสมคลุกเคล้าได้ดียิ่งขึ้น

        - ในระหว่างการหมักจะเห็นฝ้าขาว ซึ่งเป็นเชื้อจุลินทรีย์ ที่ผิวหน้าของวัสดุหมัก ฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และกลิ่นแอลกอฮอล์

        ๕.การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำโดยวิธีต่อเชื้อ

         - การผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำโดยวิธีการต่อเชื้อ เป็นการผลิตปุ๋ยหมักอินทรีย์น้ำโดยไม่ใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.๒ ทำได้โดยการใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำที่ทีอายุการหมัก ๕ วัน ซึ่งจะสังเกตุเห็นฝ้าสีขาวที่ผิวหน้าวัสดุหมัก โดยใช้จำนวน ๒ ลิตร แทนการใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.๒ จำนวน ๑ ซอง จะสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำได้จำนวน ๕๐ ลิตร

        ๖.การพิจารณาปุ๋ยอินทรีย์ที่หมักสมบูรณ์แล้ว

        - การเจริญของจุลินทรีย์น้อยลง โดยคราบเชื้อที่พบในช่วงแรกจะลดลง

        - ไม่พบฟองก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์

        - กลิ่นแอลกอฮอล์ลดลง

        - ความเป็นกรดด่าง (PH) อยู่ระหว่าง ๓-๔ 

        ๗.อัตราและวิธีการใช้

         - เจือจางปุ๋ยอินทรีย์น้ำ ต่อน้ำ อัตราส่วน ๑ ๕๐๐ - ๑ ๑,๐๐๐

         - ฉีดพ่นหรือรดลงดิน ในช่วงระยะการเติบโตของพืช

         ๘.จุดเด่นของสารซุปเปอร์ พด.๒

         -  สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์น้ำ จากวัตถุดิบได้หลากหลาย เช่น ผัก ผลไม้ ปลา หอยเชอร์รี่ เปลือกไข่ เศษก้างและกระดูกสัตว์

         - จุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตได้ในสภาพเป็นกรด

         - จุลินทรีย์ส่วนใหญ่สร้างสปอร์ ทำให้ทนต่อสภาพแวดล้อมและการเก็บรักษาได้นาน

         - สามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ในเวลาสั้นและได้คุณภาพ

         - ช่วยให้พืชแข็งแรง ต้านทานต่อการเข้าทำลายของโรคและแมลง

         ๙.ประโยช์ของปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

         - ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช โดยพบว่าปุ๋ยอินทรีย์น้ำ มีฮอร์โมน และกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น ออกซิเจน จิบเพอลิน ไซโตไซนิน กรดแลคติก กรดอะซิติก กรดอะมิโน และกรดฮิวมิก

         - กระตุ้นการงอกของเมล็ด

         - เพิ่มการย่อยสลายของตอหรือซังพืช

 

ข้อเสนอแนะ

         การใช้ปุ๋ยอินทรีย์น้ำให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น จะต้องปรับปรุงบำรุงดิน ด้วยปุ๋ยอินทรีย์

 

การผลิตปุ๋ยหมักโดยใช้สารเร่งซุปเปอร์ พด.๑

         ปุ๋ยหมัก  เป็นปู๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งเกิดจากการนำซากหรือเศษเหลือจากพืชผักมาหมักรวมกันและผ่านกระบวนการย่อยสลายโดยกิจกรรมจุลินทรีย์ จนเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เป็นวัสดุที่มีลักษณะอ่อนนุ่ม เปื่อยยุ่ย ไม่แข็งกรระด้าง และมีสีน้ำตาลปนดำ

        สารเร่งซุปเปอร์ พด.๑  เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพสูงในการย่อยสลายวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรและอุตสาหกรรมแปรรูป ผลผลิตทางการเกษตรเพื่อผลิตปุ๋ยหมักในเวลารวดเร็วและมีคุณภาพสูงขึ้น ประกอบด้วยเชื้อรา และแอคติโนมัยซีสที่ย่อยสารประกอบเซลลูโลสและแบคทีเรียที่ย่อยไขมัน

                        ส่วนผสมของปุ๋ยหมัก

                        ในการทำปุ๋ยหมัก ๑ ตัน

                  เศษพืชแห้ง            ๑,๐๐๐ กิโลกรัม

                   มูลสัตว์                     ๒๐๐ กิโลกรัม 

                   ปุ๋ยไนโตรเจน                 ๒ กิโลกรัม

                   สารเร่งซุปเปอร์ พด.๑      ๑ ซอง

          วิธีการทำปุ๋ยหมัก  

          การกองปุ๋ยหมัก ๑ ตัน มีขน่ดความกว้าง ๒ เมตร ยาว ๓ เมตร สูง ๑.๕ เมตร การกองมี ๒ วิธี ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ วัสดุที่มีขนาดเล็กให้คลุกเคล้าวัสดุให้เข้ากันแล้วจึงกองเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ส่วนวัสดุที่มีชื้นส่วนยาวให้กองเป็นชั้น ๆ ประมาณ ๓-๔ ชั้น โดยแบ่งส่วนผสมที่จะกองออกเป็น ๓-๔ ส่วน ตามจำนวนชั้นที่จะกอง มีวืธีการกองดังนี้

           ๑.ผสมสารเร่งซุปเปอร์ พด.๑ ในน้ำ ๒๐ ลิตร นาน ๑๐-๑๕ นาที เพื่อกระตุ้นให้จุลินทรีย์อกจากสภาพที่เป็นสปอร์และพร้อมจะเกิดกิจกรรมการย่อยสลาย

           ๒.การกองชั้นแรกให้นำวัสดุที่แบ่งไว้ส่วนที่หนึงมากองเป็นชั้นมีขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว ๓ เมตร สูง ๓๐-๔๐ เซนติเมตร ย่ำให้พอแน่นและรดน้ำให่ชุ่ม

            ๓.นำมูลสัตว์โรยที่ผิวหน้าเศษพืชตามด้วยปุ๋ยไนโตรเจน แล้วราดสารละลายสารเร่งซุปเปอร์ พด.๑ ให้ทั่วโดยแบ่งเป็นชั้น ๆ 

            ๔.หลังจากนั้นนำเศษพืชมากองทับเพื่อทำชั้นต่อไป ปฏิบัติเหมือนการกองชั้นแรก ทำเช่นนี้อีก ๒-๓ ชั้น ชั้นบนสุดของกองปุ๋ยควรปิดทับด้วยด้วยเศษพืชที่เหลืออยู่เพื่อป้องกันการสูญเสียความชื้น  

การดูแลรักษากองปุ๋ยหมัก

     - รดน้ำรักษาความชื้นในกองปุ๋ย : ให้มีความชื้นประมาณ ๕๐-๖๐%

     - การกลับกองปุ๋ยหมัก : กลับกอง ๑๐ วันต่อครั้ง เพื่อเพิ่มออกซิเจน ลดความร้อนในกองปุ๋ยและช่วยให้วัสดุคลุกเคล้ากัน หรือใช้ไม้ไผ่เจาะรูให้ทะลุตลอดทั้งลำและเจาะรูด้านข้างปักรอบๆกองปุ๋ยหมัก ห่างกันลำละ ๕๐-๗๐ เซนติเมตร

     - การเก็บรักษากองปุ๋ยหมักที่เสร็จแล้ว : เก็บไว้ในโรงเรือน อย่าตากแดดและฝนพรำจะทำให้ธาตุอาหารพืชในปุ๋ยหมักสูญเสียไปได้

หลักการพิจารณาปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์แล้ว

        ๑.  สี : มีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำ

        ๒.ลักษณะ : อ่อนนุ่ม ยุ่ย ไม่แข็งกระด้างและขาดออกจากกันได้ง่าย

        ๓.กลิ่น : ปุ๋ยหมักที่เสร็จสมบูรณ์จะไม่มีกลิ่นเหม็น

        ๔.ความร้อนในกองปุ๋ย : อุณหภูมิในกองปุ๋ยใกล้เคียงกับอุณหภูมิภายนอกกอง

        ๕.การเจริญของพืชบนกองปุ๋ยหมัก : พืชสามารถขึ้นบนกองปุ๋ยหมักได้โดยไม่เป็นอันตราย

        ๖.การวิเคราะห์ทางเคมี : ค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเท่ากับหรือต่ำกว่า ๒๐: ๑

อัตราและวิธีการใช้ปุ๋ยหมัก

  •  ข้าว : ใช้ ๒ ตันต่อไร่ หว่านให้ทั่วพื้นที่แล้วไถกลบก่อนปลูกพืช
  • พืชไร่ : ใช้ ๒ ตันต่อไร่ โรยเป็นแนวตามแนวร่องปลูกพืช แล้วคลุกเคล้ากับดิน
  • พืชผัก : ใช้ ๔ ตันต่อไร่ หว่านทั่วแปลงปลูกไถกลบขณะเตรียมดิน
  • ไม้ผล ไม้ยืนต้น

       เตรียมหลุมปลูก : ใช้ ๒๐ กิโลกรัมต่อหลุม คลุกเคล้ากับปุ๋ยหมักกับดินใส่รองก้นหลุม

       ต้นพืชที่เสร็จแล้ว : ใช้ ๒๐-๕๐ กิโลกรัมต่อต้น ขึ้นอยู่กับอายุของพืช โดยขุดร่องตามแนวทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยหมักในร่องและกลบด้วยดินหรือหว่านให้ทั่วภายใต้ทรงพุ่ม

  •  ไม้ตัดดอกใส่ปุ๋ยหมัก ๒ ตันต่อไร่ ไม้ดอกยืนต้นใช้ ๕-๑๐ กิโลกรัมต่อหลุม
  • ใส่ปุ๋ยหมักช่วงเตรียมดิน และไถกลบขณะที่ดินมีความชื้นเพียงพอ จะทำให้ธาตุอาหารเป็นประโยชน์ต่อพืชสูงสุด

จุดเด่นของสารเร่งซุปเปอร์ พด.๑

  •  มีประสิทธิภาพในการย่อยสารเซลลูโลส
  • สามารถย่อยสารน้ำมัน/ไขมันในวัสดุหมักที่สลายตัวยาก
  • ผลิตปุ๋ยหมักในระยะเวลารวดเร็ว และมีคุณภาพ
  • เป็นจุลินทรีย์ที่ทนอุณหภูมิสูง
  • เป็นจุลินทรีย์ที่สามารถสร้างสปอร์จึงเก็บรักษาผลิตภัณฑ์ได้นาน
  • สามารถย่อยวัสดุเหลือใช้ได้หลากหลายและครอบคลุมมากขึ้น

ประโยชน์ของปุ๋ยหมัก

  •  ปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดิน ทำให้ดินร่วนซุย การระเหยอากาส และการอุ้มน้ำของดินดีขึ้น รากพืชแพร่กระจายได้ดี
  • เป็นแหล่งธาตุอาหารพืชทั้ง ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุ
  • ดูดยึดและเป็นแหล่งดูดธาตุอาหารในดินไม่ให้ถูกชะล้าง สูญเสียไปได้ง่ายและปลดปล่อยออกมาให้พืชใช้ประโยชน์ทีละน้อยตลอดฤดูกาล
  • เพิ่มความต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดด่างของดิน
  • เพิ่มแหล่งอาหารของจุลินทรีย์ดินทำให้ปริมาณและกิจกรรมจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ในแหล่งจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น

 

ปราชญ์เพลงพื้นบ้าน

      นายเสงี่ยม ญาตินุกุล อายุ ๗๔ ปี

      การศึกษา ชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ ๔ โรงเรียนหนองตาพต

      บ้านเลขที่ ๕๕ หมู่ ๘ ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐

      อาชีพ ทำนาและช่างไม้

      มีบุตร ๓ คน ลูกชาย ๑ คน ลูกสาว ๑ คน

 

 

      นายเชือน เผือกเงิน อายุ ๗๔ ปี

      การศึกษา ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านหนองตาพต

      บ้านเลขที่ ๕๐ หมู่ ๘ ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐

      อาชีพ ทำนา ช่างก่อสร้าง รับจ้างทั่วไป และนอกจากนี้ลุงเชือนยังมีความรู้ความสามารถด้านการทำด้ามมีดและปลอกมีด

 

                  

             มีดเงินและปลอกใส่มีด

     

 

เพลงพื้นบ้าน ชุมชนบ้านม่วงเป็นชาวไทยเชื้อสายมอญซึ่งสืบทอดกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและยังมีการสืบทอดการละเล่นพื้นบ้านที่จะเล่นกันในช่วงว่างเว้นจากฤดูกาลทำนา หรือช่วงเทศกาลวันสำคัญทางศาสนา หรือประเพณีวันตรุษสงกรานต์ ซึ่งการเล่นเพลงโนเน เริ่มเลือนหายไปจากสังคมตามกาลเวลา ปัจจุบันยังมีพ่อเพลง แม่เพลง ในชุมชนบ้านม่วงที่ยังคงสืบทอดกันอยู่ และมีการสอนเพื่อสืบทอดและอนุรักษ์ไว้ โดยเยาวชนของโรงเรียนโตนดหลวงวิทยา

 

 วิธีการละเล่นเพลงโนเน อดีตจะเป็นการเล่นโดยที่ทุกคนจะจับมือต่อๆกันกันไปไม่จำกัดจำนวนผู้เล่นและร้องเพลงเต้นรำกันไป คนที่อยู่ท้ายสุดจะพากันรอดแขนของคู่แรก และจะทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่ยุคปัจจุบันจะเป็นเพียงการร้อง รำ และปรบมือเป็นจังหวะ การเล่นเพลงโนเนของชาวบ้านม่วงจะเล่นกันเป็นเวลา ๔ วัน ๔ คืน ในช่วงเทศกาลสงกรานต์

 

          เนื้อเพลงโนเน

                    ชาช่า เชื้อเชิญเอย

          ขอเชิญพ่อหงส์เหมเอยมาลา

          เชิญพ่อ ย่างพาที

          เถิดพ่อศรีมาลา

          *โนเน โนช่า ชะ โนเนเอย (ซ้ำ ๒ ครัง)

                    เพลงโนเนที่เราร้องขาน

          มันมีมานานเป็นร้อยๆปี

          เป็นเพลงที่เก่านานนัก

          ช่วยอนุรักษ์ไว้ให้ดี

          *โนเน โนช่า ชะ โนเนเอย (ซ้ำ ๒ ครั้ง )

                   รักน้องมานานนัก

          ตั้งแต่หอยจับหลัก อยู่ที่กลางทะเล

          พี่รักน้องหนู ตั้งแต่อยู่ในเปล

          *โนเน โนช่า ชะโนเนเอย (ซ้ำ ๒ ครั้ง )

                   อนิจจาแม่ยาจิต

          น้ำแห้งเรือติดพี่ไปไม่ได้

          ขอไม้ขีดให้พี่ซักกล่อง

          แล้วพี่จะส่องทางไป

          *โนเน โนช่า ชะโนเนเอย (ซ้ำ ๒ ครั้ง)

                   เดือน ๔ พี่มาว่า

          มาถึงเดือน ๕ มาขอน้องไว

          เค้าว่าสินสอดน้องมันแพง (ซ้ำ)

          แล้วพี่จะมีเงินแต่งน้องเมื่อไหร่

          *โนเน โนช่า ชะโนเนเอย (ซ้ำ ๒ ครั้ง)

                    หาหมอดูเอย

          หมอว่าคู่ฉันอยู่ทางนี้

          หมอว่าไม่ดำไม่ขอ

          หรือเป็นน้องสาวคนนี้

          *โนเน โนช่า ชะโนเนเอย (ซ้ำ ๒ ครั้ง)

         

                   เนื้อเพลงนั้นไม่ตายตัวจะร้องแก้เพลงกันแล้วแต่ว่าพ่อเพลง แม่เพลง จะร้องแก้หรือเกี้ยวกันอย่างไร แต่พอเนื้อเพลงจบแต่ละท่อนลูกคู่จะร้องรับด้วยคำว่า “โนเน โนช่า ชะโนเนเอย”ทุกครังที่ร้องจบท่อน

 

                   เนื้อเพลงพวงมาลัย

                   เอ้อละเหยลอยมา          แต่บ้านดอน

          นี่ไม่ใช่สาวแท้                        แต่บ้านแม่ลูกอ่อน

          นุ่งผ้านุ่งผ่อน                        ผิดแต่ก่อนนี้เอย

 

      

 

                   นางเอื้อน ลูกอิน อายุ ๖๓ ปี

                   อาชีพ รับซื้อของเก่า ปลูกผัก

                   การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนเทศบาลหนองตาพต

                   มีบุตร ๒ คน

 

                  

                  

 

                   นายเชือน เผือกเงิน อายุ ๗๔ ปี

                   การศึกษาจบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนเทศบาลหนองตาพต

                   บ้านเลขที่ ๕๐ หมู่ ๘ ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ๗๖๑๒๐

อาชีพ ทำนา ช่างก่อสร้าง รับจ้างทั่วไป และนอกจากนี้ลุงเชือนยังมีความรู้ ความสามารถด้านการทำด้ามมีดและปลอกมีด

         

      

 

 

 

 

นางแสงอรุณ  สมุทรภักดี

นายกเทศมนตรี

หน่วยงานภาครัฐ
















ปิดหน้าต่างนี้ [X]