กรุณาเลือกภาษา

Thai Chinese (Simplified) English French German Italian Japanese Korean

รณรงค์เกี่ยวกับมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก
มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดของมะเร็งในสตรีไทย และพบมากในช่วงอายุ 35-60 ปี แต่มะเร็งปากมดลูกสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ระยะก่อนมะเร็งด้วยการทำแปปสเมียร์ (pap smear) โดยการเก็บเอาเซลล์เยื่อบุบริเวณปากมดลูกไปตรวจหาเซลล์มะเร็งโดยการตรวจภายใน ซึ่งการรักษาจะได้ผลดีมากหากเป็นมะเร็ง ที่ตรวจพบในระยะแรก
สาเหตุ คือ การติดเชื้อไวรัสฮิวแมนแพปพิลโลมาหรือเชื้อเอชพีวี (HPV) บริเวณอวัยวะเพศ โดยเฉพาะที่บริเวณปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยง

ปัจจัยเสี่ยงทางฝ่ายหญิง
1. มีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย ช่วงนี้เซลล์ปากมดลูกยังพัฒนาไม่เต็มที่ยังไวต่อสารก่อมะเร็งสูงมาก
2. การมีคู่นอนหลายคน
3. มีประวัติเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น หนองใน เริม ซิฟิลิส เป็นต้น
4. สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า ใช้ยาเสพติด
5. การตั้งครรภ์และการมีบุตรหลายคน
6. การรับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน
7. ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่น การติดเชื้อเอดส์ การใช้ยากดภูมิคุ้มกัน

ปัจจัยเสี่ยงที่มากับฝ่ายชาย
เนื่องจากการติดเชื้อเอชพีวี (HPV) ส่วนใหญ่เกิดจากการมีเพศสัมพันธ์ การมีเพศสัมพันธ์กับผู้ชาย ที่มีเชื้อเอชพีวี (ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ชายจะไม่มีอาการหรือตรวจไม่พบเชื้อ) แม้เพียงครั้งเดียวก็มีโอกาสติด เชื้อเอชพีวีและเป็นมะเร็งปากมดลูกได้ ปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ได้แก่ สตรีที่มีคู่นอนกับชายเป็นมะเร็งองคชาติ การแต่งงานกับชายที่เคยมีภรรยาเป็นมะเร็งปากมดลูก ชายที่เคยเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือชายผ่านประสบการณ์ทางเพศตั้งแต่อายุน้อยหรือมีคู่นอนหลายคน


อาการและอาการแสดง

อาการของผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกจะมากหรือน้อยขึ้นกับระยะของมะเร็ง ในระยะแรกอาจไม่มีอาการ ผิดปกติ แต่สามารถตรวจพบได้จากการตรวจคัดกรองมะเร็งด้วยวิธีแปปสเมียร์ อาการผิดปกติ ได้แก่ อาการตกเลือดทางช่องคลอด เป็นอาการที่พบได้มากที่สุดประมาณร้อยละ 80 – 90ของผู้ป่วย ลักษณะเลือดที่ออกอาจจะเป็นเลือดออกกะปริบกะปรอยระหว่างรอบเดือน เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ มีน้ำปนเลือด ตกขาวปนเลือด ตกขาวมากผิดปกติ เลือดออกหลังวัยหมดประจำเดือน มีประจำเดือนออกมากและมาไม่สม่ำเสมอ ปวดท้องน้อย
อาการในระยะหลังเมื่อมะเร็งลุกลามหรือไปสู่อวัยวะอื่นๆ ได้แก่ ขาบวม ปวดหลัง ปวดก้นกบ ปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นเลือด เป็นต้น


การวินิจฉัย

1. การตรวจภายใน การตรวจ“แปปสเมียร์”เป็นการตรวจภายในร่วมกับการเก็บเอาเซลล์บริเวณปาก มดลูกไปตรวจทางเซลล์วิทยา หากพบก้อนผิดปกติที่ปากมดลูกแพทย์จะตรวจยืนยันโดยการตัดชิ้นเนื้อบางส่วนไป ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา

2. การตรวจอื่นๆ ที่อาจช่วยในการวินิจฉัยมะเร็งปากมดลูกได้แก่ การขูดภายในปากมดลูก การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีดและส่งชิ้นเนื้อตรวจการรักษา
วิธีการรักษามะเร็งปากมดลูกขึ้นกับระยะของมะเร็ง ความต้องการมีบุตรของผู้ป่วยและโรคทางนรีเวช อื่น ๆ ที่เป็นร่วมด้วย

การรักษาในระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือระยะก่อนลุกลาม มีวิธีการติดตามและรักษาได้หลายวิธี ได้แก่ การตัดปากมดลูกด้วยห่วงไฟฟ้า การจี้ปากมดลูกด้วยความเย็น การจี้ด้วยเลเซอร์ การตัดปากมดลูกออกเป็นรูปกรวยด้วยมีด หลังจากนั้นควรตรวจติดตามผลการรักษาอย่างใกล้ชิด โดยการตรวจภายในและทำแปปสเมียร์ หรือตรวจด้วยกล้องขยาย
มะเร็งปากมดลูกระยะลุกลาม การเลือกวิธีรักษาขึ้นกับโรคประจำตัวของผู้ป่วย ระยะของมะเร็ง และความพร้อมของโรงพยาบาลหรือแพทย์ผู้ดูแลรักษา มะเร็งในระยะแรก รักษาโดยการตัดมดลูกออกร่วมกับการเลาะต่อมน้ำเหลืองบริเวณอุ้งเชิงกรานออก และจะให้การรักษาต่อด้วยรังสีรักษา / การฝังแร่ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีโอกาสกลับเป็นซ้ำของโรคสูง และเป็นมะเร็งในระยะหลัง รักษาด้วยรังสีรักษา/ การฝังแร่ หรือร่วมกับการให้ยาเคมีบำบัด




 

เทศบาลตำบลบางเก่า
ตำบลบางเก่า อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120
โทรศัพท์ : 0-3250-3056 โทรสาร : 0-3250-3055

E-mail : Bangkao.go.th@hotmail.com

สำนักปลัดเทศบาล : 0-3250-3056 ต่อ 11
กองคลัง :
0-3250-3056 ต่อ 15
 
กองช่าง : 0-3250-3056 ต่อ 21
กองสาธารณสุขฯ : 0-3250-3056 ต่อ 31
 







 

นโยบายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล


ลิขสิทธิ์ © 2553 - 2566 เทศบาลตำบลบางเก่า สงวนไว้ซึ่งสิทธิทั้งหมด.